โครงการนักธุรกิจสตรีอนุรักษ์โลกตัวอย่าง

ในปัจจุบัน ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) กำลังเป็นปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นทั่วโลก  ประเทศไทยก็ได้รับผลกระทบนี้เช่นกัน  เช่น  อุณหภูมิที่ร้อนขึ้น ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น การคาดคะเนฝนและผลผลิตทำได้ยากขึ้น  ภาวะแห้งแล้งและน้ำท่วม  ซึ่งเกิดขึ้นบ่อยครั้งและนานขึ้น  การเกิดพายุที่มีความรุนแรงขึ้น เห็นได้ชัดว่าความร้ายแรงของภัยพิบัติเหล่านี้ กำลังเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อความมั่นคงของประเทศ

ดังนั้นคนไทยจำเป็นที่จะต้องเริ่มสนใจและให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่ยั่งยืน และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อลดผลกระทบอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ข้อมูล

Green Growth

Green Growth คือ การพัฒนาระบบเศรษฐกิจในปัจจุบันไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่ยั่งยืน

โดยการสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อาทิ ลดการสร้าง

มลพิษและการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก  เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรธรรมชาติรักษา

ธรรมชาติและความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ

กลยุทธธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Growth Strategy) เป็นการพัฒนาธุรกิจ

โดยผสานแนวทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเข้ากับกลยุทธการทำธุรกิจขององค์กร  ทำให้

องค์กรยังสามารถสร้างกำไรและพัฒนาสิ่งแวดล้อมได้ไปพร้อม ๆ  กัน

ความสำคัญต่อผู้หญิง

การพัฒนาธุรกิจที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมสามารถยกระดับสุขภาวะและสร้างโอกาสพัฒนาผู้หญิง  ทั้งในฐานะผู้นำ  คนทำงาน คนในชุมชน การสร้างเสริมสุขภาวะเป็นการเพิ่มศักยภาพของผู้หญิงอันเป็นกุญแจสำคัญของการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในสถาบันสังคม

สหพันธ์สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ในฐานะหน่วยงานภาคประชาสังคมที่ส่งเสริม และพัฒนาศักยภาพการประกอบอาชีพของสตรีในประเทศไทย ตระหนักถึงความสำคัญของบทบาทสตรีกับการพัฒนาธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จึงได้ริเริ่มรางวัลสุดยอดสตรีนักธุรกิจอนุรักษ์โลก ครั้งแรกใน ปี ๒๕๕๗ โดยได้รับการสนับสนุนทางวิชาการจาก USAID  

ในปีถัดมาได้เป็นภาคีกับ USAID กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 

ในปี ๒๕๕๙ ได้เปลี่ยนชื่อรางวัลเป็น รางวัลสตรีนักธุรกิจอนุรักษ์โลกตัวอย่าง  ที่มีภาคีร่วมกันคือ สหพันธ์ฯ  กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ USAID โดยแบ่งเป็น ๑๐ รางวัล เพื่อมอบให้สตรีเจ้าของสถานประกอบกิจการ หรือสตรีนักบริหาร หรือสตรีผู้นำกลุ่มหรือชุมชน ที่นำแนวคิดการพัฒนาธุรกิจให้สอดคล้องกับแนวทางพัฒนาเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของประเทศมาใช้ในองค์กรตน โดยจะมีการมอบรางวัลให้กับผู้บริหารองค์กรขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก และผู้นำระดับชุมชน

รางวัลนี้ไม่เพียงแต่จะประกาศเกียรติคุณแก่สตรีผู้นำองค์กรธุรกิจหรือชุมชนที่ได้ประกอบธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม แต่ยังเป็นส่วนช่วยเผยแพร่และจุดประกายแนวความคิดรักษาสิ่งแวดล้อมไปยังสตรีผู้บริหารในองค์กรอื่น ๆ อีกด้วย

วัตถุประสงค์
  1. เพื่อยกระดับความตื่นตัวทางสิ่งแวดล้อมในภาคเอกชนโดยรวม
  2. เพื่อกระตุ้นสตรีนักบริหารให้พัฒนาธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  3. เพื่อตระหนักถึงคุณค่าความสำเร็จของสตรีนักบริหารที่ประกอบธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  4. เพื่อหากลยุทธเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นต้นแบบให้ธุรกิจอื่น ๆ นำไปใช้ เพื่อขยายผลต่อไป
คุณสมบัติ
  1. สตรีเจ้าของสถานประกอบกิจการ เจ้าของกิจการ หรือสตรีที่เป็นผู้บริหารระดับสูงขององค์กรภาคเอกชน ที่ทั้งองค์กรขนาดใหญ่ กลาง  เล็ก หรือผู้นำกลุ่มธุรกิจหรือชุมชนในประเทศไทย
  • ใช้กลยุทธทำธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • ลงทุนและทำกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม
  • สนับสนุนพนักงาน คนในชุมชน ให้อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
  • บริหารธุรกิจเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๓ ปี
  • ดำเนินงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๓ ปี
  • มีการวัดผลทั้งทางธุรกิจและผลลัพท์ต่อสังคม สิ่งแวดล้อมและชุมชน
  1. กรณีเป็นผู้บริหารของบริษัท ขนาดของบริษัทที่เข้าร่วมได้มีดังนี้
  • ใหญ่ (พนักงาน ๕๐๐ คนหรือมากกว่า)
  • กลาง (พนักงาน ๒๐๐-๔๙๙ คน)
  • เล็ก (พนักงาน 50-199 คน)
  1. กรณีเป็นผู้นำกลุ่มหรือชุมชน จำนวนคนต้องมี 10 คนหรือมากกว่า
เกณฑ์การตัดสิน
  1. ประเมินจากความมุ่งมั่น นวัตกรรม กลยุทธธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และความเป็นผู้นำของสตรี

นักบริหารในการพัฒนาองค์กรและ/หรือ ชุมชน โดยยึดหลักการประกอบธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

  1. ประเมินจากการมีส่วนร่วมของสตรีในองค์กรและชุมชนในกิจกรรมที่รักษาสิ่งแวดล้อมและลดโลกร้อน
  2. ประเมินจากผลประโยชน์ที่บุคลากรชายหญิงในองค์กรหรือประชาชนทั่วไปได้รับจากการอนุรักษ์สิ่งแวด

ล้อมและส่งเสริมการลดโลกร้อนขององค์กร

กิจกรรมเด่นของสหพันธ์